Saturday, December 15, 2007

เรื่องเกร็ดความรู้ต่าง ๆ

วิถีการรับประทานอาหารของชาวญี่ปุ่น

ชาวญี่ปุ่นจะรับประทานอาหารกันวันละ 3 มื้อ คือ เช้า กลางวัน เย็น และให้คามสำคัญกับอาหารมื้อเย็นมากที่สุด ในสมัยก่อนสงครามครอบครัวชาวญี่ปุ่นส่วนใหญ่จะรับประทานอาหารญี่ปุ่นเป็นหลักโดยมีข้าวเป็นอาหารหลักและมีปลา ผัก ฯลฯ เป็นกับข้าว ควบคู่ไปกับ ซุปเต้าเจี้ยว กับผักดองต่าง ๆ แต่ตั้งแต่หลังสงครามเป็นต้นมา เนื่องจากอิทธิพลของโครงการอาหารกลางวันในโรงเรียน ทำให้มีการรับประทานขนมปัง เนื้อชนิดต่าง ๆ ไข่ และผลิตภัณฑ์นมกันมากขึ้น การรับประทานอาหารมีความหลากหลายมากขึ้น ตามสภาพความเจริญทางเศรษฐกิจ ครอบครัวชาวญี่ปุ่นส่วนใหญ่ในปัจจุบันไม่เฉพาะแต่อาหารญี่ปุ่นเท่านั้น ยังรับประทานอาหารของชาติต่าง ๆ กันเป็นเรื่องธรรมดาไม่ว่าจะเป็นอาหารปรุงสำเร็จ ซึ่งไม่ต้องใช้เวลานานในการปรุงก็มีอยู่มากมายด้วย ถ้าเข้าไปในเมือง จะพบว่าสามารถหาอาหารของชาติต่าง ๆ รับประทานได้ตามใจชอบ ตั้งแต่อาหารญี่ปุ่นไม่ว่าจะเป็น สุชิ เท็มปุระ โซบะ อุด้ง ฯลฯ หรืออาหารจีน ฝรั่งเศส อิตาลี เยอรมัน รัสเซีย อินเดีย ไทย เวียดนาม ฯลฯ หรืออาหารจานด่วน ประเภทไก่ทอด แฮมเบอร์เกอร์ ฯลฯ ก็มีวิถีการรับประทานอาหารที่มีมาแต่ดั้งเดิมของชาวญี่ปุ่น คือ การรับประทานอาหารหลักควบคู่กับกับข้าว อาหารหลักคือข้าว ซึ่งโดยปกติแล้วจะเป็นข้าวธรรมดา หุงกับน้ำ กล่าวกันว่า ประวัติศาสตร์การบริโภคข้าวของชาวญี่ปุ่นยาวนานมาก ตั้งแต่สมัยยะโยอิเป็นต้นมา แต่การรับประทานข้าวแบบปัจจุบันนั้นเริ่มขึ้นในสมัยเฮอันสำหรับกับข้าวนั้น จะเห็นได้ว่ามีมากมายในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นเนื้อ ผลิตภัณฑ์นม อาหารทะเลต่าง ๆ แต่ในสมัยก่อน การที่ประเทศญี่ปุ่นเป็นเกาะล้อมรอบด้วยทะเลทั้ง 4 ด้าน ทำให้รับประทานอาหารทะเลกันเป็นส่วนใหญ่ซึ่งเป็นแหล่งโปรตีนจากสัตว์ที่จำเป็นต่อร่างกาย วิธีการทำอาหารทะเลนั้นมีหลายวิธี ทั้งปิ้ง ย่าง ต้ม นึ่ง เป็นต้น ในบรรดาเหล่านั้นอาหารประเภท “ สะชิมิ ” ที่ใช้มีดหั่นอาหารทะเลเป็นชิ้น ๆ แล้วนำมารับประทานกันสด ๆ ถือเป็นอาหารพิเศษเฉพาะของญี่ปุ่น อาหารประเภทเนื้อก็รับประทานกันมานานเช่นกัน แต่เนื่องจากอิทธิพลของศาสนาพุทธที่ห้ามรับประทานเนื้อสัตว์ ทำให้ต้องพึ่งอาหารทะเลกันเช่นเดิม
นอกเหนือจากอาหารทะเลแล้ว ที่บริโภคกันมากรองลงมาก็คือผลิตภัณฑ์ถั่วเหลือง ตัวอย่างเช่น อะบุระเงะ (abura-age : เต้าหู้ทอด) ถั่วหมัก (natto) เป็นต้น อาหารประเภทถั่วเหลืองเหล่านี้เป็นแหล่ง โปรตีนจากพืชที่มีคุณค่าสูงมากซึ่งขนาดไม่ได้เลยในอาหารญี่ปุ่น นอกจากนี้ก็ยังนิยมนำผักมาปรุงมากเช่นกัน จะเห็นได้ว่าอาหารประเภทผักก็มามกมาย เช่น อาหารต้ม อาหารคลุกเต้าเจี้ยวหรืองา (aemono) อาหารคลุกน้ำส้ม โอะฮิทะชิ (ohitashi) เป็นต้นโชยุ ราชาแห่งเครื่องปรุงรส เมื่อพูดถึงอาหารญี่ปุ่น สิ่งที่จะลืมไม่ได้มากยิ่งกว่าข้าวและกับข้าว ก็คือโชยุกับเต้าเจี้ยวซึ่งเป็นเครื่องปรุงรส โดยเฉพาะอย่างยิ่งโชยุนั้น ถึงกับเรียกกันว่าเป็น “ ราชา แห่งเครื่องปรุงรส ” เลยทีเดียว เนื่องจากใช้ปรุงอาหารได้แทบทุกประเภท ทั้งใช้ใส่ในอาหาร และเป็นน้ำจิ้ม นอกจากนั้น โชยุยังมีบทบามอย่างมากในการพัฒนาอาหารญี่ปุ่นมาจนกระทั่งบัดนี้ ถ้าจะว่าไปแล้วที่เมืองจีนก็มีซีอิ๊วแบบจีน หรือแถบประเทศตะวันออกเฉียงใต้ก็มีน้ำปลาเช่นเดียวกัน แต่กลิ่นและรสชาติจะแตกต่างกับโชยุของญี่ปุ่นโดยสิ้นเชิง ส่วนเต้าเจี้ยวนัน ความสำคัญอาจน้อยกว่าโชยุ แต่ก็มีบทบาทอย่างมากในการปรุง ซุปเต้าเจี้ยว อาหารย่าง หรือ อาหารประเภทคลุก เป็นต้น

No comments: